ข่าวประชาสัมพันธ์-ข่าวสาร .TH

THNIC Academy จัดแข่งขัน  “GitHub Pull Request Hackathon: .ไทย Universal Acceptance”

on สิงหาคม 23, 2021        by Naritcha

UA GitHub Pull Request Hackathon จัดในรูปแบบ Virtual Hackathon มีระยะเวลาการแข่งขัน 7 วัน เพื่อแก้ไขโปรเจคที่อยู่ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request เพื่อแจ้งเจ้าของโปรเจค github 

Universal Acceptance (UA) คือการที่แอปพลิเคชันและอุปกรณ์ต่าง ๆ ยอมให้เราใส่ชื่อโดเมนและชื่ออีเมลที่ถูกต้องตามกฎการตั้งชื่อเป็นภาษาใดก็ได้ และยังรวมไปถึงการตรวจสอบ, การประมวลผล, การจัดเก็บ และการแสดงชื่อนั้น อย่างถูกต้องด้วย

"เปลี่ยนโลกของ Web และ Application ⠀⠀ไปกับ UA-Readiness"

ประกาศผลการแข่งขัน

รางวัลที่ 1

เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ Ergotrend รุ่น Ergo-X Black

รางวัลที่ 2

โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า Kiosk
รุ่น AL-160T(s)

รางวัลที่ 3

Razer BlackWidow V3 Mechanical Keyboard

กรรมการ

วรัทธน์ วงศ์มณีกิจ

Chief Product Officer
WISESIGHT (THAILAND) CO., LTD.


สมเกียรติ ปุ๋ยสูงเนิน

• Technical Coach และ Software Craftsman, บจก.สยามชำนาญกิจ
• เจ้าของและคอลัมนิสต์ TECH BLOG, SOMKIAT.CC

จิรวัฒน์ กรัณย์วิทยาการ

• Tech Evangelist - LINE Thailand
• Google Developers Experts in Firebase


ความคิดเห็นกรรมการ

1.​ ได้เห็นไอเดียการเขียน Regular Expression ที่หลากหลายทั้งแบบสั้นและยาวจากนักพัฒนาชาวไทย

2.​ ผู้ที่ชนะมีการวางแผนที่ดี จากการเลือก PR กับ Repo ที่มี stars เยอะๆ ทำให้คะแนนเพิ่มแบบทวีคูณทิ้งขาดคู่แข่ง

3.​ PR ที่ถูกเปิดในการแข่งขันครั้งนี้ มีตั้งแต่กับ Repo เล็กๆ จนไปถึง Repo ใหญ่ระดับโลก

4. บาง PR สามารถผ่าน test case เบื้องต้นไปได้ แต่ยังไม่ flexible มากพอสำหรับ test case อื่นๆ เช่นการเขียน RegEx ที่ระบุค่า max {2,20} ทั้งที่อาจมีชื่อที่ยาวกว่า 20 characters ได้ ดังนั้นควรเป็น {2,}

5.​ การเขียน RegEx ให้ครอบคลุมภาษาไทย เราเจอทั้งแบบ \u0E00-\u0E7F และ ก-๛

6.​ RegEx ที่ครอบคลุมพยัญชนะและสระทุกตัวในภาษาไทยคือ ก-๛ (หลายคนคิดว่าจบที่ ๙)

7. การมาตรวจและตัดสินการแข่งขันในครั้งนี้ กรรมการเองก็ได้ความรู้กลับไปเช่นกัน

สมัครเข้าร่วม Hackathon

สมัครแข่งขันได้ที่

คุณสมบัติผู้สมัคร

โจทย์/กติกาการแข่งขัน

FAQ

1.UA GitHub Hackathon คืออะไร

UA GitHub Pull Request Hackathon คือ Virtual Hackathon เป็นระยะเวลา 7 วัน เพื่อแก้ไข Repo ใน GitHub ให้เป็น UA-Ready และเปิด Pull Request คะแนนรวมในการแข่งขันจะคำนวนจากจำนวน Pull Request และ จำนวนการ Merge Pull Request รวมทั้งความสำคัญของ Repo ที่เลือกมาแก้ไข

2. เลือก Repo อย่างไร

ต้องเป็น Repo ที่มีการใช้ชื่อโดเมนหรือชื่ออีเมล โดย Repo นั้นจะต้องถูกสร้างมาก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เช่น 

  • thx/RAP
  • zhisheng17/flink-learning
  • jeremylong/DependencyCheck
  • renrenio/renren-security
  • adamfisk/LittleProxy

หรือศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับ UA-Readiness of Open Source Code Pilot ได้ที่ UASG033

3.กิจกรรมจัดขึ้นที่ไหน

กิจกรรมออนไลน์ สามารถเข้าร่วมแข่งขันจากที่ใดก็ได้ ที่สามารถเข้าใช้ GitHub ได้

4.เริ่มกิจกรรมเมื่อไหร่

Hackathon จะเริ่มเวลา 12:01 .(เที่ยงคืน) วันที่ 9 กันยายน
ถึงเวลา 23:59 . วันที่ 15 กันยายน 2564

5.มีค่าใช้จ่ายหรือไม่

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม UA GitHub Hackathon

6.สามารถส่งงานเป็นทีมได้หรือไม่

ต้องส่งเป็นบุคคลเท่านั้น

7.ทำงานเป็นทีมได้ หรือทำร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่

สามารถงานทำร่วมกับผู้อื่นได้ และช่วยเหลือกันได้ แต่จะต้องส่งงานเป็นบุคคลเท่านั้น

8.สามารถส่ง Pull Request ได้กี่คำขอ

ไม่มีกำหนดจำนวนคำขอสูงสุด แต่ผู้เข้าร่วม Hackathon จะได้รับของที่ระลึก คนละ 1 ชิ้น เท่านั้น

9.สามารถส่ง Pull Request จากการแก้ไข Repo ของตัวเองได้หรือไม่

การส่งคำขอต้องมาจากการแก้ไข Repo ของผู้อื่น ที่มีอยู่ใน GitHub ก่อน วันที่ 20 สิงหาคม 2564

10.สามารถส่ง Pull Request จากหน่วยงานได้หรือไม่

การส่งคำขอจะต้องมาจากบัญชีของผู้เข้าร่วม Hackathon เท่านั้น

11.ถ้ามีข้อสงสัยจะสอบถามได้ที่ใด

ถ้ามีข้อสงสัยทางด้านเทคนิค ติดต่อ https://github.community/ เพื่อสอบถามได้ หรือติดต่อ https://uasg.tech/ community

12.ใช้ภาษาอะไรได้บ้าง

สามารถใช้ภาษาใดก็ได้ที่ต้องการ

13.ธีมของ Hackathon คืออะไร

Hackathon นี้จัดเพื่อส่งเสริมการปรับปรุง code ให้รองรับ Internationalized Domain Name และ new gTLD  เช่น คน.ไทย, uasg.tech เป็นต้น  และ Internationalized Email Address เช่น สมชาย@คน.ไทย เป็นต้น โดยเฉพาะภาษาไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Universal Acceptance.  ดังนั้นธีมของ Hackathon คือ .ไทย Universal Acceptance

14.ถ้ามีการเพิ่ม Pull Request อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ในระหว่าง Hackathon จะเป็นอย่างไร

ผู้เข้าร่วม Hackathon จะต้องส่งหมายเลข Pull Request ที่จะให้พิจารณาเข้าระบบบันทึกคำขอที่ทางผู้จัดจะจัดไว้ให้ จึงจะไม่กระทบต่อ Pull Request อื่นของท่าน

15.มีเงื่อนไขของคำขออะไรบ้าง

คำขอ Pull Request ที่สมบูรณ์จะต้องเข้าเงื่อนไข ดังนี้

  • เป็น public และ open sourced
  • สร้างระหว่างช่วงเวลาการแข่งขัน
  • ผู้เข้าร่วมแข่งขันเป็นเจ้าของคำขอ
  • สอดคล้องกับธีมของ Hackathon คือ .ไทย Universal Acceptance
  • คะแนนจะนับเฉพาะ 1 Pull request ต่อ 1 Repo

16.พนักงานมูลนิธิ THNIC และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าร่วมได้หรือไม่

พนักงานของ มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย, บริษัท ที.เอช.นิค จำกัด, บริษัท บีเคนิกซ์ จำกัด, บริษัท ไทย เนม เซิฟเวอร์ จำกัด และ บริษัท เน็ตถึงบ้าน (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด รวมถึงสมาชิกครอบครัวไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมนี้

17.ผู้ได้รับรางวัลต้องเสียภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย เป็นผู้รับผิดชอบชำระเงินค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับผู้ได้รับของรางวัลที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000.- บาทขึ้นไป โดยจะจัดส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ทางไปรษณีย์

18.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้จัดงานได้ช่องทางไหน

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย
อีเมล: กิจกรรม@ทีเอชนิค.องค์กร.ไทย, event@thnic.or.th

Share :

THNIC Facebook Page

Member of

โครงการของมูลนิธิ