‘นวนุรักษ์.ไทย’ คลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ
เปิดตัว “นวนุรักษ์.ไทย” อีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ใช้โดเมนภาษาไทย เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับเจ้าของแหล่งวัฒนธรรมใช้บริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ บุคคลทั่วไปที่สนใจสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับภาคการศึกษา นำข้อมูลต่างๆ ส่งเสริมงานทางด้านการสร้างนวัตกรรม และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางวัฒนธรรม ถือเป็นการอนุรักษ์องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างยั่งยืน
ผู้เข้าชมเว็บไซต์ สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งข้อความและภาพได้หลายช่องทางในหน้าหลัก ทั้งหัวข้อ“ข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ” ที่ประกอบไปด้วยเมนู ดังนี้
(1) แผนที่ค้นหาข้อมูล: แสดง และ ค้นหาข้อมูลวัฒนธรรมแบบหลากหลายรูปแบบผ่านแผนที่ภูมิศาสตร์และตารางแสดงผล
(2) แผนที่แหล่งข้อมูล: แสดง และ ค้นหาตำแหน่งพิพิธภัณฑ์ทั้งหมดผ่านแผนที่ภูมิศาสตร์
(3)คลังภาพ 3 มิติ: บริการดาวน์โหลดข้อมูลวัฒนธรรมรูปแบบจำลอง โมเดล 3 มิติ เพื่อใช้ชมความสวยงามที่สมบูรณ์ผ่าน SketUp View
หรือสามารถค้นหาข้อมูลจากชื่อพร้อมภาพแหล่งข้อมูลทางวัฒนธรรม ที่แสดงอยู่ในส่วนสุดท้ายของหน้าหลัก ซึ่งภายในจะมีรายละเอียดให้นำไปใช้ประโยชน์ได้
นอกจากนี้ ในหน้าหลักจะแสดงข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมของเว็บไซต์ นวนุรักษ์.ไทย และสถิติที่บอกถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายทางชีวภาพ ลงรายละเอียดไปจนถึงระดับตำบล โดยสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลต่อยอดนวัตกรรมต่างๆได้
ในแถบรายการด้านบนยังมีหัวข้อ “คู่มือการใช้งาน” ให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ทั้งวิธีการถ่ายภาพ 360 องศา คู่มือการใช้หนังสือพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และคู่มือการใช้งานระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรม
หากท่านต้องการนำเข้าข้อมูลสู่ “นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม” เพียงติดต่อไปที่ทีมวิจัยเทคโนโลยีภาษาธรรมชาติและความหมาย (LST) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) เพื่อขอใช้งานแพลตฟอร์ม จากนั้นผู้ใช้งานจะได้รับรายละเอียดในการนำเข้าข้อมูลด้วยระบบบริหารจัดการคลังข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพและสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ด้วยตัวเอง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่ถูกเผยแพร่จะสามารถนำมาสร้างเส้นทางการนำชมสำหรับการท่องเที่ยวได้ สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ การท่องเที่ยว นวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมกัน
สำหรับนักพัฒนานั้น นวนุรักษ์แพลตฟอร์มมีบริการข้อมูลเปิด หรือ “Open Data” ผ่าน Open Data Service Platform ในรูปแบบ API ทั้ง JSON FORMAT และ RDF FORMAT ที่จะไปดำเนินงานต่อด้วยตัวเอง เกิดการแบ่งปันข้อมูลนำไปต่อยอดนวัตกรรมต่างๆ เป็นการสร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่บรรจุใน นวนุรักษ์แพลตฟอร์ม มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ใบลาน/เอกสารเก่า,จดหมายเหตุ นิทรรศการ, ความหลากหลายทางชีวภาพ (พืชและสัตว์ท้องถิ่น) และ ทุนทางวัฒนธรรม และยังมีระบบบริหารจัดการข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวและเส้นทางการท่องเที่ยวอีกด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม เว็บไซต์ นวนุรักษ์.ไทย ยังให้ข้อมูลติดต่อไว้ที่ด้านล่าง เพื่อร่วมกันอนุรักษ์ข้อมูลวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่นให้คงอยู่อย่างยั่งยืน เข้าถึงรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และนำไปต่อยอดนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาต่อไป
ชื่อเว็บไซต์ นวนุรักษ์.ไทย เป็นหนึ่งในโครงการ 10 ปี .ไทย การที่ใช้ชื่อโดเมนภาษาไทย ช่วยให้สื่อความหมายได้ชัดเจน ลดปัญหาในการสะกดและจดจำภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังบ่งบอกความเป็นตัวตนขององค์กร ชุมชน บุคคล และวัฒนธรรมไทยบนโลกดิจิทัล
‘.ไทย’ (ดอทไทย) ชื่อโดเมนภาษาไทยช่วยลดข้อจำกัดด้านภาษา ลดช่องว่างในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และช่วยเพิ่มมูลค่าอีคอมเมิร์ซไทย ผู้ประกอบการที่ต้องการประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือสินค้าในประเทศไทย สามารถตั้งชื่อโดเมนภาษาไทย ควบคู่กับชื่อโดเมน ‘.th’ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์สื่อได้ถึงประเภทของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าจดจำชื่อเว็บไซต์ และค้นหาธุรกิจนั้นได้ง่ายขึ้น ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชื่อโดเมนภาษาไทยได้ที่ เว็บไซต์: รู้จัก.ไทย
THNIC Facebook Page
RECENT POST
- รวมข่าว ทีเอชนิค ร่วมกับ สกมช. และ TICPA จัดสัมมนา “DNSSEC กับการป้องกันภัยไซเบอร์” เดินหน้าส่งเสริมความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ธันวาคม 4, 2024
- ครูโสออนเลิร์น.ไทย สร้างการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด ส่งเสริมผู้เรียนเป็นนวัตกรในยุคดิจิทัล พฤศจิกายน 28, 2024
- .th DNSSEC Status Report พฤศจิกายน 26, 2024
- ทีเอชนิค ร่วมกับ สกมช. และ TICPA จัดสัมมนา “DNSSEC กับการป้องกันภัยไซเบอร์” เดินหน้าส่งเสริมความปลอดภัยของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย พฤศจิกายน 26, 2024
- THNIC Academy จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Computational Thinking Workshop สำหรับครูมัธยมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ พฤศจิกายน 22, 2024